องค์ประกอบในการเรียนการสอน มี 2 ด้าน คือ
1.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านตัวครู
2.องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านผู้เรียน
(1) องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านตัวครู
ในการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในชาตินั้น ได้ยึดระบบการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2535 ซึ่งเป็นระบบที่ให้บุคคลได้ศึกษาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยจัดรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวระบบโรงเรียน และการศึกษาที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิต โดยมีระบบดังต่อไปนี้
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->ระบบการศึกษา
สำหรับการศึกษาตามแนวระบบโรงเรียน แบ่งระดับการศึกษาเป็น 4 ระดับ คือ ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->การศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
เป็นการศึกษาในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู และพัฒนาความพร้อมของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ บุคลิกภาพ และสังคมเพื่อรับการศึกษาในระดับต่อไป การจัดการเรียนรู้ในระดับนี้ เป็นการจัดให้แก่เด็กกลุ่มอายุ 3-5 ปี โดยจัดเป็นชั้นอนุบาล หรือชั้นเด็กเล็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กประเภทต่างๆตามลักษณะพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การศึกษาระดับประถมศึกษา
เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งรัฐบาลต้องการให้ประชาชนทุกคนได้รับการศึกษาระดับนี้อย่างทั่วถึง เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ทั้งคุณธรรม จริยธรรม ความรู้และความสามารถขั้นพื้นฐาน โดยจัดเป็นชั้น ป.1-6 รวม 6 ปี
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->การศึกษาระดับมัธยมศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ตอน
-ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การศึกษาระดับนี้ รัฐบาลได้มีนโยบายกำหนดให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของประชาชน และรณรงค์ให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับนี้อย่างทั่วถึง โดยจัดเป็นชั้น ม.1-3 (3 ปี) มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณภาพ ความรู้ ความสามารถ และทักษะต่อจากระดับประถม การศึกษาในระดับนี้ต้องการให้เรียนได้สำรวจตนเองทั้งในด้านความต้องการ ความสนใจ และความถนัดทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
-ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาในระดับนี้ มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัด และความสนใจ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือเพื่อการประกอบอาชีพ โดยจัดเป็น 2 ประเภท คือ จัดเป็นการศึกษาสามัญ ชั้นปีที่ 4-5-6 (3 ปี) สำหรับการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา หรือ มหาวิทยาลัยต่างๆ และจัดเป็น-การศึกษาวิชาชีพ หรืออาชีวศึกษาชั้น ปวช .1-2-3(3 ปี) สำหรับการประกอบการงานและ อาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับสูง(ปวส. ปวท. หรืออนุปริญญา/ปริญญาตรี)
4. การศึกษาระดับอุดมศึกษา
เป็นการศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาความรู้และทักษะวิชาชีพในระดับกลางหรืออนุปริญญา(2 ปี)
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ระดับปริญญาตรี
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ ความสามารถในสาขาต่างๆในระดับสูง โดยประยุกต์ทฤษฎีนำไปสู่การปฏิบัติ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาความรู้ และทักษะในสาขาเฉพาะทางให้มีความชำนาญมากยิ่งขึ้น สร้างสรรค์ความก้าวหน้าและความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเฉพาะการศึกษา-ค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เพื่อการประยุกต์ใช้กับวิทยาการสากล และภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย การศึกษาในระดับนี้ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา โดยจัดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
ส่วนประกอบของระบบ
ระบบประกอบด้วยส่วนสำคัญมี 4 ประการ และมีความสัมพันธ์กัน คือ
1. ตัวป้อน ( Input )
2. กระบวนการ ( Process )
3. ผลผลิต ( Out put )
4. ข้อมูลป้อนกลับ ( Feed back )
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]--> ระบบการเรียนการสอน
ความสำคัญของระบบการเรียนการสอน
1.การทำงานอย่างเป็นระบบนั้นสิ่งต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของระบบ จะอยู่ด้วยกันอย่างมีระเบียบ ไม่มีความสับสน และไม่มีความขัดแย้งกันในองค์ประกอบเหล่านั้น
2.การทำงานอย่างเป็นระบบจะเป็นไปได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดทั้งแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่าย
3.งานทุกอย่างจะสำเร็จตามเป้าหมายและได้ผลอย่างเต็มที่
4.การสอนอย่างเป็นระบบนั้นเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถจะพิสูจน์ทดลองได้
ระบบการเรียนการสอน เป็นระบบย่อยในระบบการศึกษา หรือระบบโรงเรียน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยต่างๆซึ่งมีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน ส่วนที่สำคัญ คือ กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียนการเรียนการสอนจะมี -ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ในส่วนต่างๆในระบบ
การตรวจสอบของประสิทธิภาพของการเรียนการสอนนั้นได้โดยการประเมินผล และเมื่อผลที่ออกมายังมีข้อบกพร่องก็จะต้องไปปรับปรุงส่วนประกอบในระบบต่างๆต่อไป
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอน
ในกระบวนการเรียนการสอนทุกระดับ จะประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->องค์ประกอบที่ 1 ผู้สอน
ผู้สอนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้แก่ผู้เรียนมาก จนถึงกับมีความเชื่อกันว่าผู้สอนจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่าผู้เรียนมากจึงจะเกิดผลดีแก่การถ่ายทอดความรู้ ถ้าผู้เรียนกับผู้สอนมีความรู้เสมอกัน การถ่ายทอดความรู้ก็จะไม่เกิดผล
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->องค์ประกอบที่ 2 ผู้เรียน
องค์ประกอบที่ผู้เรียนนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมาก ก่อนที่ผู้สอนจะลงมือทำการสอนจะต้องศึกษาผู้เรียนให้ละเอียดทุกด้านก่อนที่จะลงมือสอน และในขณะเดียวกันผู้สอนจะต้องศึกษาตนเองคือ ศึกษาหาความรู้ และยุทธวิธีที่จะนำไปใช้ในการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในแนวทางที่ต้องการ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร
หลักสูตรเปรียบเสมือนเข็มทิศ หรือ แผนที่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากในกระบวนการเรียนการสอนที่จะบ่งบอกให้ผู้เรียนได้รับทราบว่าจะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ไปสู่จุดมุ่งหมายได้
- องค์ประกอบที่ 4 สื่อการสอน
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ทั้งหลาย เช่น ชอล์ค กระดานดำ แผนภูมิ แผ่นภาพ ตำราวารสาร หนังสือ ฯลฯ วิธีการใช้สื่อการเรียนการสอนจะต้องใช้ให้เหมาะสมกับสภาพของผู้เรียน และสอดคล้องกับสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนและผู้สอนด้วย
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->องค์ประกอบที่ 5 การวัดและการประเมินผล
องค์ประกอบของการเรียนการสอนที่สำคัญประการสุดท้ายนี้ก็คือการวัดผลและประเมินผล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญขององค์ประกอบในการเรียนการสอน ในแผนภูมิที่ 11 จึงจัดเอาการวัดผลประเมินผลไว้ตรงกลาง และเชื่อมโยงลูกศรไปยังองค์ประกอบอื่นๆอีก 4 ด้าน การวัดผลประเมินผลในองค์ประกอบการเรียนการสอนนั้นเป็นส่วนที่สำคัญมาก และจะใช้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) ไปสู่การปรับปรุงทั้งผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร และสื่อการเรียนการสอน
ในการจัดการเรียนการสอนนั้น รูปแบบและระบบการเรียนการสอนรวมทั้งขั้นตอนกระบวนการรูปแบบการเรียนการสอนจะช่วยให้การสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทำให้ครูและนักเรียนเห็นองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน ประหยัดเวลา งบประมาณและประเมินผลได้สะดวก ซึ่งทำให้เห็นข้อบกพร่องของการดำเนินงานและสามารถปรับปรุงได้
(2) องค์ประกอบในการเรียนการสอนด้านผู้เรียน
ผู้เรียนเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนที่ขาดไม่ได้ ครูผู้สอนจะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนในด้านต่างๆเป็นอย่างดี เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความสนใจ ความต้องการ เป็นต้น เพื่อที่จะได้ดำเนินการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผู้เรียน ซึ่งเป็นผลทำให้การเรียนการสอนบรรลุตามจุดมุ่งหมายตามที่วางไว้
1.ผลดีของการรู้จักผู้เรียน
-ช่วยในการกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้มีความเหมาะสม
-ช่วยให้กำหนดเนื้อหาวิชาที่จะนำมาสอนเป็นไปได้อย่างเหมาะสมกับระดับความรู้ และความสามารถของผู้เรียน
-ช่วยใช้ในการแบ่งกลุ่มผู้เรียน หรือ มอบหมายงานให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียนแต่ละคน
-ช่วยให้ผู้สอนรู้ว่าระหว่างการเรียนการสอนควรที่จะช่วยผู้เรียนกลุ่มใด หรือคนใดเป็นกรณีพิเศษ เพื่อที่จะทำให้สามารถเรียนรู้ได้ทันผู้อื่น
2.การเตรียมผู้เรียนให้เรียนให้เกิดความพร้อม
ความพร้อม หมายถึง ความสามารถที่จะเรียนรู้ ความพร้อมในการเรียนของเด็กจะขึ้นอยู่กับ ระดับวุฒิภาวะทางร่างกาย สติปัญญา ตลอดจนความสามารถที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้สิ่งนั้นๆ การเตรียมให้ผู้เรียนเกิดความพร้อม มี 3 ลักษณะ คือ
1.การเตรียมทางด้านสิ่งแวดล้อมทางกาย ได้แก่
-การจัดที่นั่งเพื่อสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นถัดไป
-การจัดอุปกรณ์การเรียนสำหรับกลุ่ม หรือสำหรับรายบุคคล
-การแนะนำวิธีการเฉพาะอย่างของกิจกรรมที่กำลังจะทำ
2.การเตรียมทางด้านสติปัญญาหรือความคิด
-การสัมพันธ์สิ่งใกล้ตัวไปหาความรู้ใหม่
-การทบทวนความรู้เก่าที่จะนำไปใช้ในเรื่องใหม่
-การแนะนำหัวข้อสำคัญในการเรียน
-การสมมุติเรื่องเพื่อให้ผู้เรียนตั้งใจคิดตอบสนองต่อบทเรียน
3.การเตรียมด้านความสนใจและอารมณ์
บรรยากาศในการเรียนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากบุคลิกภาพของครู อาจจะใช้วิธีเหล่านี้เพื่อการเร้าความสนใจ
-เสนอวัสดุอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเรื่องที่จะสอน
-ให้นักเรียนทำกิจกรรมบางอย่างให้สัมพันธ์บทเรียน
3.การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการกระบวนการการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างราบรื่น และมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยา ซึ่งผู้สอนเป็นผู้ที่กำหนดให้มีขึ้น บรรยากาศทางกายภาพ ได้แก่ อาคารสถานที่ ห้องเรียน และสื่อการเรียนการสอน ส่วนบรรยากาศทางสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ครูต้องคำนึงถึงด้วย เพราะจะสนับสนุนซึ่งกันและกันต่อกระบวนการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้สอนเป็นบุคคลที่สำคัญในการที่จะวางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นได้จากการสร้างบรรยากาศต่อไปนี้
1.บรรยากาศแห่งความใกล้ชิด
2.บรรยากาศที่มีความอบอุ่น
3.บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ
4.บรรยากาศแห่งความสำเร็จ
5.บรรยากาศที่ท้าทาย
6.บรรยากาศที่อิสระ
7.บรรยากาศแห่งการควบคุม
4.วินัย (discipline)
ลักษณะของวินัยที่ดี
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->วินัยที่ดีนั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติ ในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การรู้ให้สิทธิ และหน้าที่ของตนและผู้อื่น
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->มีความสามัคคีและปรองดองในหมู่คณะ
<!--[if !supportLists]-->4. <!--[endif]-->มีความเคารพซึ่งกันและกัน ระหว่างครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน
<!--[if !supportLists]-->5. <!--[endif]-->เด็กจะมีความเจริญงอกงามทุกวิถีทาง ทั้งทางกาย สมอง อารมณ์และสังคม
<!--[if !supportLists]-->6. <!--[endif]-->จะรู้จักบังคับตนเองให้มีระเบียบ ศีลธรรม วัฒนธรรม มารยาที่ดี คือการสร้างวินัยในตนเอง
5.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
<!--[if !supportLists]-->1. <!--[endif]-->บุคลิกภาพของผู้สอน
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การวางตัวต่อผู้เรียน
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->การปฏิบัติการสอน
-[if !supportLists]-->1. <!--[endif]--> บุคลิกภาพของผู้สอน
เป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้เรียนมีความคิด และความรู้สึกที่ดีต่อโรงเรียนจากการสัมภาษณ์ และการสังเกตในห้องเรียนปรากฏว่า ผู้เรียนชอบเรียนกับผู้สอนที่มีบุคลิกภาพดี พูดจาที่-ไพเราะ รู้จักเอาใจใส่ผู้เรียน เป็นมิตรที่ดี มีความยุติธรรม เข้าใจถึงความต้องการของแต่ละบุคคล และเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขัน และผู้เรียนจะเคารพผู้สอนที่มีความสุภาพ รักษาความเที่ยงตรง ทำตัวถูกกาลเทศะ
<!--[if !supportLists]-->2. <!--[endif]-->การวางตัวต่อผู้เรียน
ผู้สอนต้องรู้จักการใช้อำนาจในห้องเรียน การใช้อำนาจในห้องเรียนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ถ้าผู้สอนใช้อำนาจอย่างถูกต้อง ก็จะได้รับผลดีในการปกครองชั้นเรียน ถ้าผู้สอนใช้อำนาจผิดๆก็จะทำให้เกิดผลเสียได้ สิ่งที่กล่าวต่อไปนี้จะมีส่วนในการแปรเปลี่ยนอำนาจของผู้สอนไปได้ต่างๆกัน คือ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ความเคารพต่อบุคคล
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เรื่องส่วนตัว และปัญหาทางวิชาชีพ
<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->เรื่องอคติ
<!--[if !supportLists]-->3. <!--[endif]-->การปฏิบัติการสอน
กาปฏิบัติการสอนของผู้สอนเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ความสัมพันธ์ของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอนเปลี่ยนไปในทางที่ดีหือทางที่เลว การสอนของผู้สอนในที่นี้หมายความกว้างว่าการสอนผู้เรียนในชั้นเรียนอย่างเดียว แต่หมายรวมไปถึง การเตรียมตัวของผู้สอน การจัดเตรียม วิธีการสอน การให้การบ้านแก่ผู้เรียน ระบบการให้คะแนน การสอบ และนโยบายการตัดสินการสอบได้ หรือการสอบตก เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น